การสืบค้นเพื่อหาข้อมูลหรือบริการที่ต้องการในเวิล์ดไวด์เว็บ สามารถทำได้ หลายวิธี ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่ามีความรู้ในการใช้อินเตอร์เน็ตและการใช้ โปรแกรม เบราว์เซอร์ มากน้อยขนาดไหน เนื่องจากปริมาณข้อมูลที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ตกระจายอยู่ทั่วโลกเป็น จำนวนมาก เราไม่สามารถใช้โปรแกรมเบราว์เซอร์เปิดอ่านข้อมูล จาก เว็บเพจต่าง ๆ โดยไม่ได้คัดกรองเสียก่อนได้ เนื่องจากจะไม่ได้ข้อมูล ที่ต้องการอย่างรวดเร็ว หรืออาจหาข้อมูลที่ต้องการไม่พบ จึงมีการ พัฒนาเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลแล้วรวบรวมข้อมูล รายชื่อ เว็บไซต์และจัด ข้อมูล ให้เป็นหมวดหมู่หรือคำหลัก (keyword) เพื่อง่ายต่อการ สืบค้น เมื่อทราบหมวดหมู่หรือคำหลักก็สามารถ เข้าไปดูข้อมูลที่ต้องการได้ จึงเป็นที่นิยมกันมาก
ขั้นตอนการสืบค้นอาจดำเนินการได้ตามวิธีการดังนี้
1. การใช้ยูอาร์แอลเพื่อสืบค้น ในกรณีนี้ผู้สืบค้นต้องทราบมาก่อน ว่าข้อมูลที่ ต้องการอยู่ที่เว็บไซต์ใดก็เข้าสู่เว็บไซต์นั้น เช่น เว็บไซต์ ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่เป็นภาษาไทยของศูนย์ เทคโนโลยี ีและอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (เน็คเทค) ถ้าต้องการ ค้นหาข้อมูลสามารถ ใช้ยูอาร์แอล ดังนี้ http://www.nectec.or.th
การค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์เน็คเทค
2. การใช้เครื่องมือช่วยสืบค้น ในกรณีที่เราไม่ทราบว่าแหล่งข้อมูล
อยู่ท่ใดสามารถใช้เครื่องมือช่วยในการสืบค้นได้ โดยกำหนดกลุ่ม
ข้อมูลหรือคำหลักที่ต้องการ ในการ สืบค้น เครื่องมือในการสืบค้นเป็น
โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมา เพื่ออำนวยความสะดวก ในการใช้งานมีอยู่ 2 ประเภท คือ
2.1 โปรแกรมค้นหา (search engine) เป็นเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล โดยโปรแกรมอัตโนมัติทำการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของเว็บไซต์ อย่างละเอียด เพื่อให้ผู้ใช้ อินเตอร์ เน็ต เข้ามาหาข้อมูลที่ต้องการได้ ซึ่งจะสามารถเจาะจงข้อมูลที่ต้องการอย่างละเอียด ได้โปรแกรมค้นหา ที่มีความนิยมมาก คือ www.google.co.th www.infoseek.com www.lycos.com www.yahoo.com
นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมค้นหาที่สามารถค้นหาข้อมูลเป็นภาษาไทยได้ คือwww.google.co.th www.thaiseek.com www.thailand.com www.yahoo.comwww.infothailand.com
2.1 โปรแกรมค้นหา (search engine) เป็นเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล โดยโปรแกรมอัตโนมัติทำการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของเว็บไซต์ อย่างละเอียด เพื่อให้ผู้ใช้ อินเตอร์ เน็ต เข้ามาหาข้อมูลที่ต้องการได้ ซึ่งจะสามารถเจาะจงข้อมูลที่ต้องการอย่างละเอียด ได้โปรแกรมค้นหา ที่มีความนิยมมาก คือ www.google.co.th www.infoseek.com www.lycos.com www.yahoo.com
นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมค้นหาที่สามารถค้นหาข้อมูลเป็นภาษาไทยได้ คือwww.google.co.th www.thaiseek.com www.thailand.com www.yahoo.comwww.infothailand.com
ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีโปรแกรมค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย
www.thailand.com
2.2 โปรแกรมค้นหาสารบบ (search directories) เป็นเว็บไซต์ที่
ี่รวบรวมข้อมูล ไว้เป็นหมวดหมู่ใหญ่แล้วแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ให้ง่ายต่อ
ผู้ต้องการได้ ข้อมูลที่สนใจจริง ๆ เช่น ถ้านักเรียนมีความสนใจ เกี่ยว
กับความรู้ต่าง ๆ ก็สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลได้ใน เว็บไซต์ข้างล่าง
อินเตอร์เน็ตได้เริ่มต้นขึ้นใน
พ.ศ.2512 ประเทศสหรัฐอเมริกา โครงการที่ชื่อ ARPA (Advanced
Research Projects Agency) ได้จัด ตั้งระบบ เน็ตเวิร์ก
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ต ในเวลานั้น เน็ตเวิร์กนี้มีชื่อเรียกว่า
อาร์พาเน็ต (ARPANET) และได้ถูกใช้เป็น
เครื่องมือในการสื่อสารข้อมูลทาง การทหารใช้ในกระทรวง
กลาโหมสหรัฐอเมริกาและใช้ในมหาวิทยาลัย
TCP/IP ย่อมาจาก Transmission
Control Protocol/Internet Protocol เป็นโปรโตคอลชนิดมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล
บน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในขณะนี้
เครื่องมือที่ใช้ในการรับส่งข่าวสาร เช่น
อินเตอร์เน็ตตำบลให้ ข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ ด้านราคาพืชผล ทางการ
เกษตร เทคโนโลยี การเกษตร ข่าวการระบาดของโรคพืชโรคสัตว์ และการป้องกันเตือนภัย
ธรรมชาติ
เมื่อซื้อบริการทางอินเตอร์เน็ตจากไอเอสพีแล้ว การติดต่อ เข้า ในระบบ
เครือข่ายจะต้องต่ออุปกรณ์ที่บริษัทกำหนดไว้หรือ จัดหา ให ้ไปที่หมายเลข
ของไอเอสพีนั้น ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่าย เหมาเป็น รายเดือน คิดราคาค่าใช้บริการ
ตามความเร็วที่บริษัทกำหนดและ สามารถใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
1.
เว็บไซต์ (Website) หมายถึง
ที่ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยการค้นหาข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น
ๆ หรือสามารถค้นหา
เว็บไซต์ที่เราต้องการค้นคว้าผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ค้นคว้าหาข้อมูลต่าง
ๆ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ที่ www.google.com www.yahoo.com
www.sanook.com เป็นต้น
1.1
การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก
จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก (keyword) ให้ได้ก่อน
1.2
การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน
2.
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลสะดวก รวดเร็ว
โดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่อง
หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์
เป็นต้น
ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน เช่น ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่
เฉพาะเกี่ยวกับนิราศก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง คือ สุนทรภู่ และระบุหัวข้อเรื่อง คือ
นิราศ
ระบบสามารถประมวลผลงานของสุนทรภู่เฉพาะเรื่องที่เป็นนิราศเท่านั้น
3.
ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูล คือ
แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง
หรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง จำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่น แสน
หรือล้านรายการ
ออนไลน์ (online) เป็นคำทับศัพท์ หมายถึง
การเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ให้ได้ตรงตามความต้องการ อาจใช้เทคนิคง่าย ๆ เข้าช่วย ดังนี้
1. ทำความเข้าใจความหมายของคำเชื่อมที่สำคัญ
3 คำ คือ
"และ" ใช้เพื่อจำกัดขอบเขตของข้อมูลให้แคบลง
ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" และ
"เรื่องสั้น"
ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลของ ว.วินิจฉัยกุล เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องสั้นเท่านั้น จะไม่ปรากฎเรื่องราวด้านอื่น ๆ เลย
"หรือ" ใช้เพื่อเพิ่มขอบเขตของข้อมูลให้กว้างขึ้น ตัวอย่าง ระบุว่า
"ว.วินิจฉัยกุล"
หรือ "ทมยันตี" ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับ ว.วินิจฉัยกุล
และทมยันตี
ทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น
"ไม่" ใช้เพื่อลดขอบเขตของข้อมูล ตัวอย่าง ระบุว่า
"ว.วินิจฉัยกุล"
ไม่ "ประวัติ" ข้อมูลที่ได้จะเน้นเรื่องราวของ ว.วินิจฉัยกุลทุกด้าน จะไม่มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติชีวิตของ
ว.วินิจฉัยกุล เลย
2.
ใช้สัญลักษณ์
หากไม่ทราบวิธีสะกดคำที่ถูกต้อง
เครื่องหมายคำถาม ? ใช้แทนอักษร 1
ตัว
เครื่องหมายดอกจัน* ใช้แทนอักษรหลายตัว ตัวอย่าง
ต้องการค้นเรื่องวิญญาณ
แต่ไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่าตัวสะกดเป็น ณ หรือ น ให้พิมพ์ "วิญญา?ต้องการค้นเรื่อง
ปัญจวัคคีย์
แต่ไม่แน่ใจตัวการันต์ให้พิมพ์
ปัญจวัคคี*
3.
ฐานข้อมูลอีริก (ERIC database) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษาให้ใช้คำว่า NEAR
สำหรับการค้นที่รวมคำที่ใกล้เคียงกับคำที่ต้องการด้วย
ทิปใช้กูเกิล
สำหรับเว็บมาสเตอร์
·
ตรวจสอบว่าเว็บได้ถูกลงทะเบียนในกูเกิลหรือยัง
เพียงแค่เราพิมพ์ชื่อเว็บของเราในช่อง ค้นหา เช่น www.it-guides.com เป็นต้น ถ้ากูเกิล แสดงชื่อและรายละเอียดเว็บของเรา แสดงว่า เรามีชื่อในระบบฐานข้อมูลของกูเกิลแล้ว นั่นต้องบอกว่า ขอแสดงความยินดีด้วยครับ
เพียงแค่เราพิมพ์ชื่อเว็บของเราในช่อง ค้นหา เช่น www.it-guides.com เป็นต้น ถ้ากูเกิล แสดงชื่อและรายละเอียดเว็บของเรา แสดงว่า เรามีชื่อในระบบฐานข้อมูลของกูเกิลแล้ว นั่นต้องบอกว่า ขอแสดงความยินดีด้วยครับ
·
ค้นหาคู่แข่งของเรา
เพียงแค่พิมพ์ชื่อกลุ่มสินค้า เช่น เราขาย ?เครื่องสำอางค์เกาหลี? แค่พิมพ์คำๆ นี้ลงไปในช่อง ค้นหา เป็นต้น จากนั้นดูผลลัพธ์ที่ได้ว่า มีชื่อเว็บของเราอยู่ในหน้าหนึ่ง หน้าสองหรือเปล่า (เพราะหน้าอื่นๆ อาจไม่ค่อยมีคนอยากคลิกเท่าไหร่) จากนั้นดูว่า เว็บไหน ถูกแสดงในบรรทัดต้นๆ นั่นแหละ คู่แข่งของคุณ
นอกจากนี้ ในบรรทัดของคำค้นหา จะแสดงจำนวนผลลัพธ์ของการค้นหาว่ามีกี่รายการ แสดงว่า มีคู่แข่งของคุณอีกจำนวนเท่าไหร่ จะเห็นว่ามีประมาณกว่า 13 ล้านรายการ
เพียงแค่พิมพ์ชื่อกลุ่มสินค้า เช่น เราขาย ?เครื่องสำอางค์เกาหลี? แค่พิมพ์คำๆ นี้ลงไปในช่อง ค้นหา เป็นต้น จากนั้นดูผลลัพธ์ที่ได้ว่า มีชื่อเว็บของเราอยู่ในหน้าหนึ่ง หน้าสองหรือเปล่า (เพราะหน้าอื่นๆ อาจไม่ค่อยมีคนอยากคลิกเท่าไหร่) จากนั้นดูว่า เว็บไหน ถูกแสดงในบรรทัดต้นๆ นั่นแหละ คู่แข่งของคุณ
นอกจากนี้ ในบรรทัดของคำค้นหา จะแสดงจำนวนผลลัพธ์ของการค้นหาว่ามีกี่รายการ แสดงว่า มีคู่แข่งของคุณอีกจำนวนเท่าไหร่ จะเห็นว่ามีประมาณกว่า 13 ล้านรายการ
·
ตรวจสอบ
Google Page Rank
Google Page Rank เป็นค่าการให้คะแนะเว็บไซต์จาก Google โดยจะมีคะแนนตั้ง 0 ? 10 ถ้าได้คะแนน 0 แสดงว่าเป็นเว็บที่ไม่ติดอันดับของ Google ?เรียกว่าต้องรีบพัฒนาโดยด่วน เราสามารถตรวจสอบ Google Page Rank ได้ง่ายๆ เพียงแค่ติดตั้ง Google Toolbar เท่านั้น?
Google Page Rank เป็นค่าการให้คะแนะเว็บไซต์จาก Google โดยจะมีคะแนนตั้ง 0 ? 10 ถ้าได้คะแนน 0 แสดงว่าเป็นเว็บที่ไม่ติดอันดับของ Google ?เรียกว่าต้องรีบพัฒนาโดยด่วน เราสามารถตรวจสอบ Google Page Rank ได้ง่ายๆ เพียงแค่ติดตั้ง Google Toolbar เท่านั้น?
เริ่มต้นค้นหาเว็บด้วย
Google
1. เข้าไปยังเว็บ www.google.com
หรือ www.google.co.th? ปกติแล้วจะพาเราเข้าไปที่
google.co.th เพราะว่าเราใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย (กูเกิล
เขาสามารถตรวจสอบได้)
2. พิมพ์คำที่ต้องการค้นหาในช่องว่าง? เช่นคำว่า ?ไอที? เป็นต้น
(ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย ??)
3. กดปุ่ม ?ค้นหาด้วย Google?
4. แค่นี้ก็จะได้ผลลัพธ์ตามที่คุณใส่ไว้แล้ว
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
ข้อดีและข้อจำกัดของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
ข้อดีของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
• ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย มากกว่าการติดต่อสื่อสารด้วยประเภทอื่นๆ
เนื่องจากสามารถรับหรือส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
•สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ข้อมูลตัวอักษร ภาพ เสียง
และภาพเคลื่อนไหว
• ไม่จำกัดเวลา ระยะทาง หรือสถานที่ในการติดต่อสื่อสาร
ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในเวลาและสถานที่ใดก็ได้เพียงแต่ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายกับ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการส่งหรือรับข้อมูลนั้น
• ไม่จำเป็นต้องเปิดหรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดเวลาเพื่อรอรับข้อมูล
เนื่องจากข้อมูลที่ได้รับจะถูกเก็บไว้ในเมล์เซิร์ฟเวอร์
เมื่อผู้ใช้ต้องการดูข้อมูลก็เพียงเชื่อมโยงไปยังเมล์เซิร์ฟเวอร์นั้น
• ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ในการติดต่อสื่อสาร
ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดิม
• สามารถส่งเมล์ไปหาผู้รับได้หลายคนพร้อมๆ กัน
ในกรณีที่ข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นข้อมูลเดียวกัน เช่น ข้อมูลแจ้งกำหนดการประชุม
กฎระเบียบในการใช้ห้องคอมพิวเตอร์
ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลได้ทีละหลายๆ คนในครั้งเดียว ไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลไปทีละคน
• เก็บข้อมูลที่ส่งได้ตามความต้องการ โดยอาจเก็บไว้ในเมล์เซิร์ฟเวอร์นั้นๆ
หรือดาวน์โหลดมาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง
• ข้อมูลที่ได้มีความเป็นส่วนตัว
เนื่องจากผู้ใช้จะมีรหัสส่วนตัวในการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
• ผู้รับสามารถนำข้อมูลที่ได้มาแก้ไขหรือนำข้อมูลนั้นไปใช้ต่อได้
ไม่ต้องพิมพ์ข้อมูลนั้นใหม่
โดยข้อมูลที่ได้รับทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถนำมาจัดทำในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ
์
• มีการแจ้งรายละเอียดและบันทึกข้อมูลได้ตามความต้องการของผู้ใช้
เช่น จำนวนข้อมูลทั้งหมด ข้อมูลใดที่เปิดใช้งานแล้วหรือยัง
ไม่ได้เปิดใช้งาน ใครเป็นผู้ส่ง และส่งข้อมูลมาในเวลาใด
กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: Bulletin Board System) หรือ บีบีเอส (BBS) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่รันซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้หลาย ๆ คน
ใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมเทอร์มินัลติดต่อเข้าไปในระบบ
ผ่านทางโมเด็มและสายโทรศัพท์. โดยในระบบจะมีบริการต่าง ๆ ให้ใช้ เช่น
ระบบส่งข้อความระหว่างผู้ใช้ (คล้าย จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในอินเทอร์เน็ตปัจจุบัน
แต่รับส่งได้เฉพาะภายในระบบเครือข่ายสมาชิกเท่านั้น) ห้องสนทนา
บริการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ และกระดานแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เป็นต้น
บีบีเอสส่วนใหญ่เปิดให้บริการฟรี
โดยสมาชิกจะสามารถเข้าใช้ระบบได้แต่ละวันในระยะเวลาจำกัด
บีบีเอสมักจะดำเนินการในรูปของงานอดิเรกของผู้ดูแลระบบ หรือที่เรียกกันว่า ซิสอ็อป
(SysOp จากคำว่า system operator)
บีบีเอสส่วนในเมืองไทยมีขนาดเล็ก มีคู่สายเพียง 1
หรือ 2 คู่สายเท่านั้น บางบีบีเอสยังอาจเปิดปิดเป็นเวลาอีกด้วย
บีบีเอสขนาดใหญ่ที่ได้รับความนิยมมากในสมัยก่อนได้แก่ ManNET ซึ่งมีถึง 8 คู่สายและเปิดบริการตลอด 24 ชม. ManNET ดำเนินการโดยแมนกรุ๊ป ผู้จัดทำนิตยสารคอมพิวเตอร์รายใหญ่ในยุคนั้น.
นอกจากนี้ยังมีบีบีเอส CDC Net ของ
กองควบคุมโรคติดต่อ (กองควบคุมโรค ในปัจจุบัน)
ซึ่งเป็นบีบีเอสระบบกราฟิกรุ่นบุกเบิกของประเทศไทย
ในปัจจุบัน บีบีเอสมีบทบาทน้อยลงไปมาก เนื่องจากความแพร่หลายและข้อได้เปรียบหลายประการของ
อินเทอร์เน็ต และ เวิลด์ไวด์เว็บ. ในประเทศญี่ปุ่น คำว่า บีบีเอส
อาจจะใช้เรียกกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์บนอินเทอร์เน็ตด้วย. แต่สำหรับเมืองไทยแล้ว
นิยมเรียกกระดานข่าวเหล่านี้ว่า เว็บบอร์ด มากกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น